หลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาวิชา ชีวภาพการแพทย์ 
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)

ชื่อหลักสูตร          

ภาษาไทย: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวภาพการแพทย์                  

ภาษาอังกฤษ: Doctor of Philosophy Program in Biomedical Science

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา          

ชื่อเต็ม (ไทย)ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวภาพการแพทย์)          

ชื่อย่อ (ไทย)ปร.ด. (ชีวภาพการแพทย์)         

ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Doctor of Philosophy (Biomedical Science)          

ชื่อย่อ (อังกฤษ): Ph.D. (Biomedical Science)

วิชาเอกของหลักสูตร/แขนงวิชา:         

มีกลุ่มวิชาให้เลือกตามความสนใจ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา เภสัชวิทยา และสรีรวิทยา

เกี่ยวกับหลักสูตรชีวภาพการแพทย์

หลักสูตรชีวภาพการแพทย์เป็นหลักสูตรที่สอนทางด้านกายวิภาคศาสตร์สรีรวิทยา พยาธิวิทยา ชีวเคมี จุลชีววิทยาและเภสัชวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง หน้าที่และการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายในภาวะปกติและผิดปกติตั้งแต่ระดับโมเลกุล เซลล์ และเนื้อเยื่อ รวมทั้งศึกษาจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรค ยาและกลไก การออกฤทธิ์ หลักสูตรนี้มุ่งเน้นที่จะผลิตและพัฒนานักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้มีความรู้รอบด้านสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาแบบองค์รวมได้จึงจัดให้มีการเรียนการสอนและการวิจัยในรูปแบบบูรณาการซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป

หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
1.หมวดวิชาบังคับ 5
2.หมวดวิชาไม่น้อยกว่า 7
3.ปริญานิพนธ์ 36
4.วิชาบังคับที่ไม่นับหน่วยกิต (1)
รวมไม่น้อยกว่า 48

ป.โท-เอก (หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต)

หมวดวิชา จำนวนหน่วยกิต
1.หมวดวิชาบังคับ 14
2.หมวดวิชาบังคับเฉพาะกลุ่ม 8
3.หมวดวิชาเลือกไม่น้อยกว่า 2
4.ปริญญานิพนธ์ 48
5.วิชาบังคับที่ไม่นับหน่อยกิต (2)
รวมไม่น้อยกว่า 72
   หมายเหตุ โครงสร้างหลักสูตรทุกแบบ นิสิตต้องปฎิบัติดังนี้
           3.1.2.1 ลงทะเบียนเรียนรายวิชาบังคับที่ไม่นับหน่วยกิตสะสม
           3.1.2.2 เข้าร่วมในรายวิชาสัมมนาทุกภาคการศึกษาจนสำเร็จการศึกษา
           3.1.2.3 ได้รับการพิจารณาให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
           3.1.2.4 ต้องผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying examination) ก่อนการสอบเค้าโครงปริญญานิพนธ์
           3.1.2.5 การสอบเค้าโครงปริญญานิพนธ์จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
           3.1.2.6 นิสิตที่ผี่านการสอบเค้าโครงปริญญานิพนธแ์ล้วให้เสนอรายงานความก้าวหน้าของการทำปริญญานิพนธ์ทุกภาคการศึกษาจนสำเร็จการศึกษา
           3.1.2.7 ต้องมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ ตามเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยและหลักสูตร

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่…